รู้จักกับเส้นใยสิ่งทอ


ใน ตอนที่แล้ว รู้จักกับเส้นใย ( ตอนที่ 2 ) เราได้พูดถึง คุณสมบัติของเส้นใยที่มีต่อผ้าที่ผลิตออกมา ในตอนนี้เราจะมากล่าวถึง คุณสมบัติของเส้นใยที่ควรรู้กันบ้าง

คุณสมบัติของเส้นใย ( Fibre Property ) กระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมสิ่งทอ สิ่งที่สำคัญเป็นอันดับแรก และต้องคำนึงถึงเป็นอย่างมากก็คือ คุณสมบัติของเส้นใยที่จะนำมาใช้เป็นวัตถุดิบได้อย่างเหมาะสม จึงต้องมีองค์ประกอบดังนี้

• ขนาดความโตของเส้นใย ( DE )
• ความยาวของเส้นใย ( MM. )
• ความแข็งแรงของเส้นใย ( Gm/DE )
• การยืดตัวของเส้นใย ( % )
• ความชื้นในเส้นใย ( % )
• ภาพตัดตามขวางของเส้นใย ภาพตัดตามยาวของเส้นใย

คุณสมบัติของเส้นใยที่กล่าวมานี้ จะมีผลโดยตรงในกระบวนการผลิตตั้งแต่ การเตรียมเส้นใย, การปั่น, การทอ, การย้อม และการตกแต่งสำเร็จ ดังนั้นจะกล่าวว่าการเตรียมเส้นใยเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญมากในการผลิตก็ไม่ ผิต เพราะว่า ถ้าเราเตรียมเส้นใยได้ดี การทำงานในขั้นตอนต่อไปก็สำเร็จโดยง่ายและ ไม่เกิดเป็นของเสีย ( Waste ) ระหว่างกระบวนการผลิต
Continue reading

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทย

คลิปวีดีโอที่อธิบายเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทย

Continue reading

เส้นใยฝ้าย ( Cotton Fiber )



ฝ้ายเป็นพืชเส้นใยที่มีความสำคัญอย่างยิ่งและเป็นที่นิยมใช้มากที่สุดในโลก ฝ้ายมีถิ่นกำเนิดอยู่ในอเมริกากลางและเอเชียตอนใต้ ฝ้ายถูกใช้ในการทำเครื่องนุ่งห่มหรือสิ่งทออื่นๆ 
สำหรับในวิถีชีวิตของคนไทย มีการปลูกฝ้ายมาตั้งแต่โบราณเพื่อประโยชน์ใช้สอยในครอบครัว ปัจจุบันประเทศมีความต้องการฝ้ายในภาพรวมมากขึ้น ตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งการส่งออกผลิตภัณฑ์สิ่งทอเพิ่มมากขึ้น ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ ประเทศไทยต้องนำเข้าปุยฝ้ายจากต่างประเทศเป็นมูลค่ามหาศาล อีกทั้งการปลูกในประเทศต้องใช้ต้นทุนการผลิตสูง เนื่องจากค่าสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ซึ่งทำให้ไม่ปลอดภัยต่อผู้ผลิต และเป็นปัญหาต่อสภาพแวดล้อม ในขณะที่ยังมีความจำเป็นในการใช้เส้นใยจากพืชนี้อยู่


เส้นใยฝ้ายหรือปุยฝ้ายได้จากผลฝ้าย ที่เรียกว่า สมอ เส้นใยคือเซลล์ผิว (epidermal cell) ของเปลือกเมล็ด ซึ่งมีรูปร่างยาวเหมือนเส้นผม การแยกเส้นใยออกจากเมล็ดฝ้าย เรียกว่า การหีบฝ้าย เส้นใยฝ้ายสามารถนำไปทำผลิตภัณฑ์ได้นานาชนิด ตั้งแต่สำลี เส้นด้าย ทอเป็นผ้าฝ้าย ผสมในกระดาษ และกระดาษพิมพ์ ส่วนขนปุยสั้นๆที่ติดอยู่ที่เมล็ด ใช้ทำพรม โดยใช้พื้นรองพรมเป็นเส้นใยปอแก้ว
การเก็บฝ้ายในบ้านเรามักเก็บด้วยมือ โดยเลือกผลฝ้ายที่แตกแล้ว ดึงเส้นใยออกจากสมอ ส่งไปโรงงานหีบฝ้ายเพื่อแยกเมล็ดออก หลังจากนั้นจะนำเส้นใยไปทำสำลี ปั่นเป็นเส้นด้าย หรืออัดเป็นแท่ง ส่วนเมล็ดฝ้ายที่แยกเอาเส้นใยออกไปแล้ว นำไปสกัดน้ำมัน เรียกว่าน้ำมันเมล็ดฝ้าย ฝ้าย 10 กิโลกรัมให้เส้นใยประมาณ 3.5 กิโลกรัม และให้น้ำมันประมาณ 1 กิโลกรัม

ที่ผ่านมาเกษตรกรส่วนใหญ่จะปลูกฝ้ายเพื่อขายเชิงพาณิชย์เป็นหลักและไม่ใช้พันธุ์พื้นบ้านที่ปลูกกันในท้องถิ่น จะเป็นพันธุ์ที่ให้ปริมาณดอกฝ้ายมากให้ผลผลิตสูง แต่ก็ไม่ทนทานต่อสภาพพื้นที่ จึงต้องใช้สารเคมีช่วยในการกำจัดศัตรูพืช เพื่อให้ปริมาณฝ้ายได้มากและคุ้มค่ากับการลงทุน เกษตรกรส่วนใหญ่จึงนิยมปลูกฝ้ายแบบใช้สารเคมีช่วย เมื่อเป็นเช่นนี้ผลกระทบที่เกิดขึ้นก็ตามมาเช่นกัน


(เรียบเรียงโดย Kanji



Credit:

>>>> เส้นใยฝ้าย <<<<

Continue reading

การพัฒนาผลิตภัณฑ์เส้นใยไผ่ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ    
                                                 (กระบวนการต้มลำไผ่ด้วยไอน้ำความดันสูง )

1  การคัดเลือกไผ่
       1.1  นำต้นไผ่ที่มีอายุการปลูกประมาณ 6-8 เดือน มาตัดเอาส่วนที่เป็นข้อลำไผ่ออก
       1.2  แยกเปลือกนอกของไผ่ออกจากลำไผ่ชั้นใน
       1.3  แบ่งลำไผ่ให้มีความหนาประมาณ 0.5 – 1.0 ซม
2  การระเบิดลำไผ่ด้วยไอน้ำความดันสูง
       2.1  ตรวจสอบสภาพเครื่องจักรให้เรียบร้อย
       2.2  ตั้งค่ามาตรฐานการทำงานของเครื่อง ตามมาตรฐานที่กำหนด
       2.3  ต้มลำไผ่ด้วยอุณหภูมิ 207 องศา ,เวลา นาที ,ความดัน15 KGF/CM2
       2.4  เอาเส้นใยไผ่ออกจากเครื่อง
      2.5  ล้างเส้นใยไผ่ด้วยน้ำเปล่าให้สะอาด
3   การตากแห้ง
       3.1   นำเส้นใยไผ่   จากข้อ 2.5
       3.2   ตากเส้นใยไผ่ให้แห้งสนิทประมาณ 2  วัน
       3. 3  ตัดเส้นใยไผ่ด้วยความยาว 51  มม
       3.4  บรรจุถุงไว้ให้เรียบร้อย
4   การนวดเส้นใยไผ่
        4.1  เตรียมเส้นใยไผ่ จากข้อ 3.3
        4.2  ตรวจสอบ ปรับเครื่อง  RECYLING ให้เป็นไปตามมาตรฐานกำหนด
        4.3  เข้าเครื่อง  RECYLING  1- 2 รอบ
        4.4  ตรวจสอบดูเส้นใยไผ่ว่ามีคุณสมบัติตามที่ต้องการอ่อนนุ่ม,กระด้างแข้งโดยใช้มือ                                                                                                                                             
               สัมผัสเส้นใยไผ่                                                                                                                          
        4.5  นำเส้นใยไผ่ บรรจุเก็บใส่ถุงไว้ให้เรียบร้อย เพื่อเตรียมเข้าสู่กระบวนการผลิตต่อไป        
5   การฟอกขาวเส้นใยไผ่
        5.1  ฟอกขาวด้วย  H2 O2  30  ซี.ซี. / น้ำ 10 ลิตร   ด้วยอุณหภูมิ 90 องศา และ เวลา 45 นาที
        5.2  ล้างเส้นใยไผ่ให้สะอาด
        5.3  ตากเส้นใยไผ่ให้แห้งสนิท  ก่อนบรรจุถุงเก็บไว้
        หมายเหตุ -   การฟอกขาวเส้นใยไผ่ ควรทำการฟอกขาวเมื่อเส้นใยไผ่ผ่านการนวด
        เส้นใยมาแล้ว
6    การทำให้เส้นใยไผ่ให้นุ่ม
        6.1  ใช้น้ำยา SOFTENNER   NCS - 81   ในอัตราส่วน  20  กรัม/น้ำ ลิตร
        6.2   เวลาการแช่น้ำยา  1  ชั่วโมง
        6.3   ตากเส้นใยไผ่ให้แห้งสนิท 
        6.4   ก่อนบรรจุถุงเก็บไว้
                                                                     ****************
Continue reading

รู้จักกับเส้นใยสิ่งทอ

คุณสมบัติของเส้นใย

สมบัติของเส้นใยมีผลโดยตรงต่อสมบัติของผ้าที่ทำขึ้นจากเส้นใยนั้นๆ ผ้าที่ทำจากเส้นใยที่แข็งแรงก็จะมีความแข็งแรงทนทานด้วย หรือเส้นใยที่สามารถดูดซับน้ำได้ดีจะส่งผลให้ผ้าสามารถดูดซับน้ำและความชื้นได้ดี เหมาะสำหรับการนำไปใช้ในส่วนที่มีการสัมผัสกับผิวและดูดซับน้ำ เช่น ผ้าเช็ดตัว ผ้าอ้อม เป็นต้น
       ดังนั้นการที่เราเข้าใจสมบัติของเส้นใย จะช่วยทำให้สามารถทำนายสมบัติของผ้าที่มีเส้นใยนั้นๆ เป็นองค์ประกอบ รวมไปถึงผลิตภัณฑ์สุดท้ายได้ ซึ่งจะช่วยให้สามารถเลือกชนิดของผลิตภัณฑ์ในเบื้องต้น ได้ถูกต้องตามความต้องการ ของการนำไปใช้งาน โดยการคาดเดาจากองค์ประกอบที่แจ้งไว้ในป้ายสินค้า ยกตัวอย่างเช่น ในเส้นใยที่สามารถดูดซับน้ำได้น้อย จะส่งผลให้ผ้าที่ทำจากเส้นใยชนิดนี้มีสมบัติดังนี้

       
เกิดไฟฟ้าสถิตย์ (Static build-up) บนเนื้อผ้าได้ง่าย ทำให้ผ้าลีบติดตัว
       
ผ้าแห้งเร็ว เนื่องจากมีปริมาณน้ำที่ดูดซับน้อยและไม่มีพันธะ (bond) ระหว่างเส้นใยและ โมเลกุลของน้ำ
       
ย้อมติดสียาก เนื่องจากการย้อมสีส่วนใหญ่อาศัยน้ำเป็นตัวกลางพาโมเลกุลของสีเข้าไปในเนื้อผ้า ผ้าที่ไม่ดูดซับน้ำจึงติดสีย้อมได้ยากกว่า
       
สวมใส่สบายน้อยกว่า เนื่องจากการเหงื่อที่อยู่บนผิวถูกดูดซับน้อยทำให้รู้สึกเปียกชื้นได้
       
คงรูปได้ขณะเปียก (หรือขณะซัก) และผ้ายับน้อย ทั้งนี้เนื่องจากปริมาณน้ำที่ถูกดูดซับมีน้อย และไม่เกิดพันธะระหว่างเส้นใย และโมเลกุลของน้ำ ที่จะทำให้โครงสร้างเปลี่ยนแปลงไป 
สมบัติของเส้นใยที่มีผลต่อสมบัติผ้า

1. สมบัติรูปลักษณ์ (Aesthetic properties)
            รูปลักษณ์ภายนอกของผ้ามักเป็นปัจจัยหนึ่ง ที่ผู้บริโภคใช้ในการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สิ่งทอ ว่ามีความเหมาะสมต่อการนำไปใช้หรือไม่ สมบัติเหล่านี้ได้แก่ความเป็นมันวาว การทิ้งตัวของผ้า เนื้อผ้า และสัมผัส 

       1.1 สมบัติความเป็นมันวาว (Luster)
              สมบัตินี้เกี่ยวข้องกับปริมาณแสงที่ถูกสะท้อนกลับโดยผิวหน้าของผ้า ซึ่งผ้าที่สะท้อนแสงกลับออกมามากก็จะมีความเป็นมันวาวมาก สมบัตินี้ขึ้นอยู่กับลักษณะผิวหน้าของเส้นใย ด้าย สารเติมแต่ง และโครงสร้างผ้า ผ้าไหมเป็นตัวอย่างหนึ่งที่มีความมันวาวสูงเนื่องจากเส้นใยไหมมีผิวหน้าที่เรียบและเป็นเส้นยาวต่อเนื่อง (filament) การเลือกระดับของความมันวาวของผ้ามักขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งาน

       1.2 การทิ้งตัวของผ้า (Drape)
              สมบัติการทิ้งตัวของผ้าเกี่ยวข้องกับลักษณะที่ผ้าตกลงบนรูปร่างที่เป็น 3 มิติ เช่นบนร่างกาย หรือบนโต๊ะ ว่าสามารถโค้งงอตามรูปทรงที่ผ้าวางอยู่ได้มากน้อยเพียงใด ผ้าที่สามารถทิ้งตัวได้ดีก็จะดูอ่อนนุ่ม สามารถจัดเข้ากับรูปทรงได้ง่าย ส่วนผ้าที่ทิ้งตัวได้น้อยมักจะมีความแข็ง สมบัติเหล่านี้ขึ้นอยู่กับความละเอียดของเส้นใย รวมทั้งลักษณะของเส้นด้ายและโครงสร้าง (การถักทอ)ของผ้าด้วย 

       1.3 เนื้อผ้า (Texture)
              เป็นสมบัติที่เกี่ยวข้องทั้งด้านที่มองเห็นด้วยตาและที่สัมผัสด้วยมือ ผ้าอาจจะมีผิวที่ดูเรียบ หรือขรุขระ ผ้าที่ทำจากเส้นใยธรรมชาติมักจะมีผิวที่ดูไม่สม่ำเสมอเมื่อเทียบกับผ้าที่ทำจากเส้นใยประดิษฐ์ที่มีผิวเรียบ สมบัติของเนื้อผ้าขึ้นอยู่กับความเรียบของผิวหน้าของเส้นใยและเส้นด้าย ลักษณะการถักทอผ้าและการตกแต่งสำเร็จก็มีผลต่อสมบัติเนื้อผ้าเช่นกัน

       1.4 สมบัติต่อผิวสัมผัส (Hand)
              สมบัติต่อผิวสัมผัสเกี่ยวข้องกับความรู้สึกต่อผิวเมื่อสัมผัสกับเนื้อผ้า ผ้าแต่ละชนิดอาจให้ความรู้สึกเย็น อุ่น หนา บาง ลื่น หรือนุ่ม แตกต่างกันไป สมบัตินี้ขึ้นอยู่กับสมบัติผิวหน้าของเส้นใย และเส้นด้าย รวมทั้งโครงสร้าง (การถักทอ) ของผ้าด้วย

 2. สมบัติความทนทาน
            สมบัติความทนทานของผ้ามีผลต่ออายุการใช้งานของผลิตภัณฑ์สิ่งทอที่ทำจากผ้านั้นๆ สมบัติความทนทานของผ้าครอบคลุมทั้งสมบัติการทนต่อแรงเสียดสี (abrasion resistance) ทนต่อแรงดึง (tenacity) 

       2.1 สมบัติการทนต่อแรงเสียดสี 
              เป็นสมบัติที่บอกถึงความสามารถของผ้าที่ทนต่อแรงขัดถู หรือเสียดสี ที่มักเกิดขึ้นตลอดเวลาการใช้งานของสิ่งทอ โดยเฉพาะเสื้อผ้า นอกจากนี้ความสามารถในการพับงอไปมาโดยไม่ขาด (flexibility) ก็เป็นสมบัติสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสมบัติความทนของผ้า 

       2.2 สมบัติความทนต่อแรงดึง
              เป็นความสามารถของผ้าในการทนต่อแรงดึง ซึ่งความแข็งแรงนี้นอกจากจะขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของเส้นใยแล้ว ยังขึ้นอยู่กับลักษณะของเส้นด้ายและการขึ้นรูปเป็นผ้าอีกด้วย 

3. สมบัติความใส่สบาย (Comfort properties)
            สมบัติความใส่สบายเกี่ยวข้องกับการที่ผู้สวมใส่รู้สึกเมื่อสวมใส่สิ่งทอภายใต้สภาวะสิ่งแวดล้อมและกิจกรรมต่างๆ สมบัตินี้มีความซับซ้อนเพราะนอกจากจะขึ้นอยู่กับสมบัติของผ้าที่เกี่ยวข้องจริงต่อความรู้สึกสบายในการสวมใส่แล้ว ยังขั้นอยู่กับอีกปัจจัยหนึ่งซึ่งสำคัญมากคือความรู้สึกพึงพอใจของผู้สวมใส่ที่มีต่อผลิตภัณฑ์สิ่งทอนั้นๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดความแตกต่างหลากหลายขึ้นอยู่กับรสนิยมส่วนตัว และทัศนคติที่ผู้สวมใส่มีต่อผลิตภัณฑ์ ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเฉพาะปัจจัยกลุ่มแรกที่เกิดจากตัวผลิตภัณฑ์เอง

       3.1 สมบัติการดูดซับน้ำ (Absorbency)
           เป็นสมบัติที่เกี่ยวข้องกับความสามารถของเส้นใยที่จะดูดซับโมเลกุลของน้ำจากร่างกาย (ผิวหนัง) หรือจากอากาศรอบๆ 
              จากที่กล่าวมาแล้วนี้ เราจะเห็นได้ว่าสมบัติของผ้าไม่ได้ขึ้นอยู่กับสมบัติของเส้นใยเพียงอย่างเดียว หากแต่ขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นอีกหลายอย่าง เช่น ชนิดและโครงสร้างของเส้นด้าย กระบวนการผลิตผ้า เป็นต้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อรูปลักษณ์ เนื้อผ้า ราคา สมรรถนะการใช้งาน รวมไปถึงการดูแลรักษา สารเติมแต่งก็มีผลต่อสมบัติด้านสัมผัส (hand properties) รูปลักษณ์ และสมรรถนะการใช้งานของผ้าด้วยเช่นกัน

(เรียบเรียงโดย Kanji)

Credit:

>>>> รู้จักกับเส้นใย (ตอนที่ 3) <<<<
Continue reading


เครื่องประดับจากวัสดุธรรมชาติ







สนใจติดต่อ คุณนะ 
โทร: 081-632-5899
Facebook: Na Jewelry
Made in Thailand


Continue reading

1  การคัดเลือกเปลือกต้นกฤษณา
       1.1  เลือกเปลือกสดหรือผ่านการต้มมาแล้ว
       1.2  เจียร / ขูด  ผิวเปลือกนอกสุดออกให้หมด  ก่อนดำเนินการตามข้อ 2

2  การหมักเปลือกกฤษณา
       2.1  ใช้ NaOH   20 – 30   % :  น้ำ  1  ลิตร
       2.2   ใช้เวลาแช่เปลือกกฤษณา 15    วัน
       2.3    ล้าง NaOH  ด้วยน้ำสะอาดจนกว่าจะหมด  และ ขูดเปลือกผิวนอกออกให้หมด
       2.4   นำเปลือกกฤษณาเข้าสู่กระบวนการข้อ 3

3  การหมักเส้นใยกฤษณา
       3.1  ล้างทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่าจนกว่าสาร NaOH   จะหมด
       3.2  แช่น้ำเปล่าทิ้งไว้ประมาณ  15  วัน

4   การตาก –ตัด  เส้นใยกฤษณา
       4.1  นำเส้นใยกฤษณามาตากให้แห้ง
       4.2  นำเส้นใยกฤษณา จาก ข้อ 4.1  มาตัดด้วยความยาว  51  ม.ม.

5  การฟอกขาวเส้นใยกฤษณา
       5.1  นำเส้นในใยจากข้อ 4.2 ไปทำการฟอกขาวด้วย  H2 O2    20 %  SOLUTION อุณหภูมิ
               90   องศา   เวลา   45  นาที

6  การนวดเส้นใย
       6.1  ต้องการให้เส้นใยกฤษณามีความนุ่ม และ การกระจายตัวเวลาผสมที่ MIXING ROOM
       6.2 นวดด้วยเครื่อง ROLLER CARD  3-4  รอบ

7  การเก็บเส้นใยกฤษณา
       7.1  นำเส้นใยบรรจุเก็บใส่ถุงไว้ให้เรียบร้อย เพื่อเตรียมนำเข้าสู่กระบวนการผลิตต่อไป   
     
                                                                                                   นายประจักษ์      แอกทอง  
                                                                                                   นายบัณฑิต       พงศาโรจนวิทย์
                                                                                                  10   มีนาคม    2552   


ย้อนกลับ ...  โครงการวิจัยเส้นใยธรรมชาติ (Eco Textile)
Continue reading

1  การคัดลูกตาล
       1.1  เลือกลูกตาลที่สุกงอม 

2  การแยกเส้นใยลูกตาล
        2.1  นำลูกตาลจากข้อ 1.1  มาล้างทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่า
        2.2  เตรียมภาชนะและ น้ำเปล่า
        2.3  ลอกเปลือกชั้นนอกของลูกตาลออกให้หมด
        2.4  ยีเส้นใยลูกตาลจนเนื้อลูกตาลออกหมด แล้วล้างน้ำให้สะอาดอีกครั้ง
        2.5  นำเส้นใยลูกตาลจากข้อ 2.4  แช่น้ำเปล่าทิ้งไว้ ประมาณ 10-14   วัน ( ตากแดด )
        2.6  ทำความสะอาดเส้นใยลูกตาล และ หวี จนเนื้อใยของตาลออกหมดและ ล้างน้ำให้สะอาด 
                อย่าให้มีเนื้อใยลูกตาลติดอยู่ที่เส้นใยลูกตาล

3  การตากเส้นใยลูกตาล
        3.1  นำเส้นใยลูกตาลจากข้อ 2.6 ไปตากแดดจนเส้นใยลูกตาลแห้งสนิท

4  การนวดเส้นใย
        4.1   นำเส้นใยลูกตาลจากข้อ 3.1   เข้าเครื่อง  RECYLING  2  รอบ
        4.2   นำเส้นใยลูกตาลจากข้อ 4.1 เข้าเครื่อง ROLLER   CARD 2 รอบ

5  การเก็บเส้นใยลูกตาล
        5.1  นำเส้นใยลูกตาลบรรจุเก็บใส่ถุงไว้ให้เรียบร้อย

6  การลงน้ำยา SOFTENNER  ของเส้นใยลูกตาล
        6.1  ใช้ น้ำยา SOFTENNER - NCS -  81   30  กรัม/น้ำ 1 ลิตร
        6.2   แช่ไว้  2  ช.ม.
        6.3  นำเส้นใยลูกตาลตากให้แห้งสนิท         


                                                                                                  นายบัณฑิต         พงศาโรจนวิทย์
                                                                                                  นายประจักษ์       แอกทอง
                                                                                                  ผู้วิจัย
                                                                                                  30  พ.ค. 2551


ย้อนกลับ ...  โครงการวิจัยเส้นใยธรรมชาติ (Eco Textile)
Continue reading

เส้นใยธรรมชาติ (Natural Fibre)
ขอขอบคุณภาพจาก www.topnaturetextiles.com

มุมมองเส้นใยธรรมชาติในอุตสาหกรรมสิ่งทอ

เส้นใยธรรมชาติ ( NATURAL FIBRE ) เป็นเส้นใยธรรมชาติจากพืชทุกชนิด จัดเป็นเส้นใยประเภทเซลลูโลส ที่มีองค์ประกอบไปด้วยธาตุหลักๆ ได้แก่  คาร์บอน 44.4 % , ไฮดรอเจน 6.2 % และ ออกซิเจน 49.4 %  ด้วยโครงสร้างโดยทั่วไปของเส้นใยธรรมชาติที่ประกอบด้วยเซลลูโลส  จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่นิยมใช้เป็นวัสดุในอุตสาหกรรมสิ่งทอ เช่น ฝ้าย,ลินิน ฯลฯ

การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเส้นใยธรรมชาติ  ในเชิงอุตสาหกรรม และ การพัฒนาเส้นด้ายต้นแบบจากเส้นใยธรรมชาติ เป็นการคิดค้นวัสดุเส้นใยธรรมชาติ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาวัสดุเส้นใยธรรมชาติสู่กระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมสิ่งทอ โดยเส้นใยธรรมชาติ ที่จะนำมาใช้ในกระบวนการอุตสาหกรรมสิ่งทอได้นั้น ควรเป็นเส้นใยที่ต้องมี คุณสมบัติตามกำหนดด้วย เช่นความโต,ความเหนียว,ความยืดหยุ่น ฯลฯ  คุณสมบัติดังกล่าวของเส้นใยจะสานต่อตั้งแต่การปั่น,การทอ,การย้อม และ การตกแต่งสำเร็จ

วัตถุประสงค์การพัฒนาเส้นใยธรรมชาติสู่อุตสาหกรรมสิ่งทอ

- เพื่อศึกษา และ คิดค้นวัสดุเส้นใย
- เพื่อพัฒนาวัสดุเส้นใยธรรมชาติเข้าสู่กระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมสิ่งทอ
- เพื่อศึกษาคุณสมบัติของเส้นใยธรรมชาติ
- เพื่อเพิ่มมูลค่าของวัตถุดิบเหลือใช้ในการเกษตรสู่อุตสาหกรรมสิ่งทอ
- เพื่อเป็นการส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางสิ่งทอชนิดใหม่
- เพื่อสร้างความร่วมมือ และพัฒนาด้านงานวิจัยร่วมกัน  ในการพัฒนากระบวนการผลิต และ การใช้วัสดุที่มีในประเทศ ลดการนำเข้าจากต่างประเทศ และเป็นการพึ่งพาตนเองตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
- เพื่อให้เกิดเป็นนวัตกรรมที่มีมูลค่าในเชิงพาณิชย์ โดยเฉพาะในการนำผลงานวิจัยมาสนับสนุนให้เกิดผลิตภัณฑ์ และ เทคโนโลยีใหม่ออกสู่ตลาด ตลอดจนเป็นการสนับสนุนอุตสาหกรรมด้านสิ่งทอภายในประเทศ
- เพื่อส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอมุ่งสู่วัฒนธรรมพื้นเมือง

นายประจักษ์ แอกทอง
ผู้เชี่ยวชาญสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ
5 กันยายน 2555

---------------------------------------------------------------------------------------------------------------

โครงการวิจัยเส้นใยธรรมชาติ (Eco Textile Project)

1. การพัฒนา "เส้นใยลูกตาล" สู่อุตสาหกรรมสิ่งทอ
2. การพัฒนา "เส้นใยกฤษณา" สู่อุตสาหกรรมสิ่งทอ
3. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ "เส้นใยกัญชง" ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ ( แบบครั้งแรก )
3.1 การพัฒนาผลิตภัณฑ์เส้นใยกัญชงในอุตสาหกรรมสิ่งทอ
     (แช่น้ำเปล่า  เครื่องเค้น ตากแห้ง ROLLER  CARD )
3.2 การพัฒนาผลิตภัณฑ์เส้นใยกัญชงในอุตสาหกรรมสิ่งทอ
     (แช่น้ำเปล่า ตากแห้ง ROLLER  CARD ) 
3.3 การพัฒนาผลิตภัณฑ์เส้นใยกัญชงในอุตสาหกรรมสิ่งทอ
     (เส้นใยสด เครื่องเค้น ตากแห้ง )
4. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ "เส้นใยปอ" ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ
5. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ "เส้นใยข่า" ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ  ( วิธีหมักโดยธรรมชาติ )
5.1 การพัฒนาผลิตภัณฑ์เส้นใยข่า ( ALPINIA GALANGA ) ในอุตสาหกรรมสิ่ง
     ( โดยวิธีการต้มด้วยความร้อน / ใช้เส้นใยทั้งต้น )
5.2 การพัฒนาผลิตภัณฑ์เส้นใยข่า ( ALPINIA GALANGA ) ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ
     ( โดยวิธีการต้มด้วยความร้อน / เส้นใยตัดยาว 51  MM)
5.3 การพัฒนาผลิตภัณฑ์เส้นใยข่า ( ALPINIA GALANGA ) ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ                
     ( โดยวิธีการเครื่องเค้น /เส้นใยตัดยาว 51  MM)
6. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ "เส้นใยไผ่" ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ
Continue reading

มาถึงแล้ว สำหรับงานมหกรรมเครื่องจักร เทคโนโลยี และวัสดุอุปกรณ์ตกแต่งที่ครบครันที่สุดในอาเซียน งาน GFT 2014 และ Garment Manufacturers Sourcing Expo 2014 (GMS) 


ในงานมีจะเน้นด้านของเครื่องจักร และเทคโนโลยีจากจีนซะเป็นส่วนใหญ่ โดยมีเครื่องจักรหลากหลายประเภทด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องปักเย็บ เครื่องปริ้นดิจิตอล นอกจากนี้ยังมี ผลิตภัณฑ์จัดแสดงโดยสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งมีผลิตภัณฑ์ที่ถูกคิดค้นขึ้นใหม่ เช่น ผ้าใยสับปะรด หรือจะเป็นเทคโนโลยี Coolmode ที่ทำให้เสื้อผ้าใส่สบายมากยิ่งขึ้น


สำหรับทางศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์แฟชั่น (FPDC) ที่มีการให้ความรู้ของแฟชั่น สิ่งทออย่างเจาะลึก พร้อมแนวทางที่แบรนด์ ต่างๆ สามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างมีเอกลักษณ์ รวมถึงด้าน การตัดเย็บเครื่องนุ่งห่มด้วยเทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่เหมาะสม เพื่อเสริมคุณค่าทางการตลาดให้สินค้าของคุณ
ขอเชิญผู้สนใจร่วมงาน GFT และ GMS 2014 เพื่อเตรียมความพร้อมของผู้ผลิตสิ่งทอเครื่องนุ่งห่มในยุคเออีซี, วัสดุอัจฉริยะด้วยนาโนเทคโนโลยี และการสร้างแบรนด์ในโลกออนไลน์ ใน "ASEAN Garment & Textile Summit" ระหว่างวันที่ 26-29 มิ.ย. 2557 ที่ไบเทค บางนา
Continue reading



คอร์สพิเศษ " หน้าไหนก็สวยได้กับโสภาส " 

คอร์สแต่งหน้า แนวแฟชั่น ให้สวยอย่างตัวเอง 
จากเครื่องสำอางที่คุณมีในกระเป๋า แต่งอย่างไรให้สวย 

โดย อาจารย์ โสภาส ณ ตะกั่วทุ่ง 
ผู้เชี่ยวชาญด้านภาพลักษณ์ การแต่งหน้า 
การแต่งกายให้คำปรึกษาเกี่ยวกับภาพลักษณ์ในทุก ๆ ด้าน

สนใจ สำรองที่นั่ง โทร 02-7135492-9 ต่อ 700 จำนวนจำกัดนะค่ะ (ลงทะเบียน 100 บาท) 
(ไม่มีค่าใช้จ่ายอื่นๆ นอกจากลงทะเบียน 100 บาท ) 
รับจำนวนจำกัดนะค่ะ 

**** หมายเหตุ**** ผู้เรียนนำเครื่องสำอางและ กระจกของตัวเองมา —

วันที่ 2 กรกฎาคม 2557 เวลา 13.00 - 16.00 น 
ณ ศูนย์สร้างสรรค์องค์ความรู้แฟชั่น FKCC
สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซอยตรีมิตร
ถนนพระราม 4 แขวงพระโขนง เขตคลองเตย
กทม. 10110

Continue reading


เยี่ยมชมงาน

ผู้เขียนได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมงาน OTOP MIDYEAR 2014 ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองทองธานี เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ในงานแบ่งออกเป็นโซนต่างๆ ประกอบไปด้วยเสื้อผ้า เครื่องสาน เครื่องประดับและอาหาร ทางเข้ามีรายละเอียดผลการดำเนินศูนย์เรียนรู้ ทางเข้างานจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งทอที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มกระดาษสาบ้านลองลือบุญ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ เป็นต้น

เครื่องจักสานผักตบชวา

ผลิตภัณฑ์จักสาน

การนำเส้นใยธรรมชาติ เช่น ผักตบชวา หวาย ไผ่ เป็นต้น มาผลิตเป็นเครื่องจักสาน เพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์
ผลิตภัณฑ์จากหลายๆ จังหวัด ดูสวยงามและมีเอกลักษณ์เป็นอย่างมาก อย่างเช่น จังหวัดชลบุรี และจังหวัดอ่างทอง เป็นต้น

ฝาชีสีสันสวยงาม

นอกจากนี้แล้วยังมีสินค้าจักสานที่น่าสนใจอีกมากมาย ซึ่งเกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้านท้องถิ่นของบ้านเราอย่างแท้จริง เช่น ฝาชีสีสันสวยงามที่ดูน่ารักอย่างมาก


ผ้าไหมจังหวัดสุรินทร์

ส่ิงทอพื้นบ้าน

การนำเส้นใยธรรมชาติ เช่น ผักตบชวา หวาย ไผ่ เป็นต้น มาผลิตเป็นเครื่องจักรสาน เพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์
ผลิตภัณฑ์จากหลายๆ จังหวัด ดูสวยงามและมีเอกลักษณ์เป็นอย่างมาก อย่างเช่น จังหวัดชลบุรี และจังหวัดอ่างทอง เป็นต้น
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ เป็นแค่ตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ ที่ผู้เขียนเอามาให้ชมกัน ยังมีของน่ารักๆ ไทยๆ อีกมากมาย

สิ่งทอของบ้านเรามีหลากหลายมากมาย ไม่ว่าจะเป็นผ้าคราม ผ้าไหมสุรินทร์ ผ้าฝ้ายเข็นมือ ผ้าทอยกดอกไว้คราวหน้าผู้เขียนจะนำเอาข้อมูลผ้าท้องถิ่นที่น่าสนใจมานำเสนอนะคะ ยังไงก็ตามงานขอเชิญเที่ยวงานและอุดหนุนสินค้าไทยๆ ของบ้านเราได้ที่งาน OTOP MID YEAR 2014 ตั้งแต่วันนี้-1 มิถุนายน 2557 ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ฮอลล์ 1-8 นะคะ


(เรียบเรียงโดย Kanji)

>>>> ข่าวสาร & กิจกรรม <<<<
Continue reading

เส้นใย

เส้นใย หมายถึง พอลิเมอร์ซึ่งเกิดจากโมเลกุลหลายๆ โมเลกุลมาเรียงตัวกันเป็นโซ่ยาวที่สามารถนำมาเป็นเส้นด้าย หรือเส้นใย ทั้งนี้วัสดุสารใดๆทั้งที่เกิดจากธรรมชาติและมนุษย์สร้างขึ้นที่จะจัดเป็นเส้นใย จะต้องมีอัตราส่วนระหว่างความยาวต่อเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับหรือมากกว่า 100 เท่า จึงจะสามารถขึ้นรูปเป็นผ้าได้ และต้องเป็นองค์ประกอบที่เล็กที่สุดของผ้า ไม่สามารถแยกย่อยในเชิงกลได้อีก

ประเภทของเส้นใย

เราสามารถแยกประเภทของเส้นใยได้หลายแบบขึ้นอยู่กับลักษณะการแบ่ง ในที่นี้เราแบ่งตามแหล่งกำเนิดของเส้นใยซึ่งจะแบ่งได้เป็นสองประเภทใหญ่ๆ คือ เส้นใยธรรมชาติและเส้นใยประดิษฐ์ ในกลุ่มของเส้นใยธรรมชาติก็ยังแบ่งย่อยได้อีกเป็นเส้นใยที่มาจากพืช จากสัตว์ และจากแร่ ส่วนเส้นใยประดิษฐ์สามารถแยกเป็นเส้นใยที่ประดิษฐ์จากธรรมชาติ เส้นใยสังเคราะห์ และเส้นใยที่ประดิษฐ์จากวัสดุอื่นๆ

1. เส้นใยธรรมชาติ (Natural fibers)
- เส้นใยพืช เช่น ฝ้าย ลินิน ปอ รามี ป่าน นุ่น
- เส้นใยสัตว์ เช่น ขนสัตว์ (wool) ไหม (silk) ผม (hair)
- แร่ เช่น แร่ใยหิน (asbestos)

2. เส้นใยประดิษฐ์ (Man-made fibers)
- ประดิษฐ์จากธรรมชาติ เช่น เรยอน อะซิเทต ไตรอะซีเทต
- เส้นใยสังเคราะห์ เช่น โอเลฟินส์ โพลีเอสเทอร์ โพลีอรามิด ไนลอน

ความยาวเส้นใย (Fiber length)

เส้นใยมีทั้งชนิดสั้นและยาว ซึ่งความยาวของเส้นใยจะมีผลต่อสมบัติและการนำไปใช้งานของผลิตภัณฑ์สิ่งทอ ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับชนิดของเส้นใยทั้งสองนี้ก่อน

เส้นใยสั้น (Staple fiber) เป็นเส้นใยที่มีความยาวอยู่ในช่วง 2 ถึง 46 เซนติเมตร (หรือ ? ถึง 18 นิ้ว) เส้นใยธรรมชาติทั้งหมดยกเว้นไหมเป็นเส้นใยสั้น ยกตัวอย่างเช่น เส้นใยฝ้าย นุ่น ขนสัตว์ เส้นใยสั้นที่มาจากเส้นใยประดิษฐ์มักทำเป็นเส้นยาวก่อนแล้วตัด (chop) เป็นเส้นใยสั้นตามความยาวที่กำหนด

เส้นใยยาว (Filament fiber) เป็นเส้นใยที่มีความยาวต่อเนื่องไม่สิ้นสุด มีหน่วยวัดเป็นเมตรหรือหลา เส้นใยยาวส่วนใหญ่เป็นเส้นใยประดิษฐ์ ยกเว้นไหมซึ่งเป็นเส้นใยยาวที่มาจากธรรมชาติ เส้นใยยาวอาจเป็นชนิดเส้นยาวเดี่ยว (monofilament) ที่มีเส้นใยเพียงเส้นเดียว หรือเส้นใยยาวกลุ่ม (multifilament) ซึ่งจะมีเส้นใยมากกว่า 1 เส้นรวมอยู่ด้วยกันตลอดความยาว เส้นยาวที่ออกมาจากหัวฉีด (spinnerets) จะมีลักษณะเรียบซึ่งมีลักษณะเรียบคล้ายเส้นใยไหม หากต้องการลักษณะเส้นใยที่หยักก็จะต้องนำไปผ่านกระบวนการทำหยัก (crimp) ซึ่งเส้นใยที่ได้จะมีลักษณะคล้ายเส้นใยฝ้าย หรือขนสัตว์ ซึ่งส่วนมากเส้นใยที่ทำหยักมักจะนำไปตัดเพื่อทำเป็นเส้นใยสั้น

เส้นใยยาว (Filament fiber) แบ่งเป็น
1. โมโนฟิลาเมนท์ (Monofilaments): ใยยาวเดี่ยว เรียบ ทนทาน ทอเป็นผ้าเนื้อละเอียด บางเบา ใช้ทำเสื้อชั้นใน ถุงเท้า มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่
2. มัลติฟิลาเมนท์ (Multifilaments): ใยยาวรวม ใยยาวหลายเส้นมาเข้าเกลียวรวมกัน ทอเป็นผ้าผิวสัมผัสนุ่ม เงางาม จับจีบได้ดี ลักษณะคล้ายไหม

(เรียบเรียงโดย Kanji)

Credit:
http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/science04/18/Web/fiber.html
http://www.naturalfibres2009.org/en/fibres/
http://ssingh2301.blogspot.com/2011/07/fibres.html
http://www2.mtec.or.th/th/research/textile/textile_sci.html

>>>> รู้จักกับเส้นใย (ตอนที่ 2) <<<<
Continue reading


การอบรม: การประยุกต์ใช้แนวโน้มแฟชั่น ( Fashion Trend 2015 ) โดยวิทยากรชั้นนาระดับประเทศ เพื่อเชื่อมโยงกับการออกแบบสินค้า ผู้เข้าร่วมอบรมจะได้รู้ Fashion Trend ทั้งในเรื่องแฟชั่นเครื่องแต่งกาย เครื่องประดับอัญมณี เครื่องหนัง

รวมถึง การอบรมเชิงปฏิบัติการ Spotting Trend สรุปทิศทางเทรนด์ที่เป็นแรงกระตุ้นในเกิดแนวโน้มการออกแบบ แนวโน้มแฟชั่นเฉพาะประเทศ อาทิ ญี่ปุ่น อิตาลี ฝรั่งเศส เยอรมัน ทั้งนี้ ยังจะได้รับโอกาสในการ ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ( Workshop ) การสร้าง mood board ผลงานออกแบบผลิตภัณฑ์แฟชั่น ที่จะสื่อถึงความต้องการของลูกค้าในต่างประเทศอีกด้วย

จึงขอเชิญท่านที่สนใจ นักออกแบบ และนักศึกษาทุกชั้นปี เข้าร่วมการอบรมโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ

ท่านใดที่สนใจสามารถโทรมาสอบถาม หรือ เข้าไปดูรายละเอียด พร้อมทั้งดาวน์โหลดใบสมัคร ได้ที่ Facebook : Fashiontrend Chanapatana

Continue reading



“ฝ้าย : เส้นใยจากท้องไร่ ก่อนก้าวไกลสู่เวทีโลก”


มารู้จักสิ่งทอต้นน้ำ หรืออุตสาหกรรมขั้นต้น (Upstream) เป็นอุตสาหกรรมเริ่มแรกของโครงสร้างอุตสาหกรรมสิ่งทอ ได้แก่ เส้นใย (เส้นใยธรรมชาติและเส้นใยสังเคราะห์) และอุตสาหกรรมปั่นด้าย ในงานสัมมนา เรื่อง “ฝ้าย : เส้นใยจากท้องไร่ ก่อนก้าวไกลสู่เวทีโลก” 



** ซื้อขายฝ้ายต้องทำอย่างไร ***

โดย คุณมนตรี ฉันทเจริญโชค ผู้ค้าฝ้าย บริษัท Texstar Group Companies United

*** รู้จักเส้นด้าย ซื้อ-ขาย อย่างไร*** 
โดย คุณดนัย วงศ์ศิริกุล ผู้ค้าเส้นด้าย

***เสวนา ประเด็น “ฝ้าย: เส้นใยจากท้องไร่ ก่อนก้าวไกลสู่เวทีโลก*** 
ดำเนินรายการ โดยคุณวิวัฒน์ หิรัญพฤกษ์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ 

วันศุกร์ที่ 30 พฤษภาคม 2557 เวลา 13.00 - 15.30 น.
ณ ศูนย์สร้างสรรค์องค์ความรู้แฟชั่น (FKCC) ชั้น 2
สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ กล้วยน้ำไท (ไม่เสียค่าใช้จ่าย)

สอบถามรายละเอียด 02-7135492-9 ต่อ 700 และ888




Continue reading