เส้นใยฝ้าย

เส้นใยฝ้าย ( Cotton Fiber )



ฝ้ายเป็นพืชเส้นใยที่มีความสำคัญอย่างยิ่งและเป็นที่นิยมใช้มากที่สุดในโลก ฝ้ายมีถิ่นกำเนิดอยู่ในอเมริกากลางและเอเชียตอนใต้ ฝ้ายถูกใช้ในการทำเครื่องนุ่งห่มหรือสิ่งทออื่นๆ 
สำหรับในวิถีชีวิตของคนไทย มีการปลูกฝ้ายมาตั้งแต่โบราณเพื่อประโยชน์ใช้สอยในครอบครัว ปัจจุบันประเทศมีความต้องการฝ้ายในภาพรวมมากขึ้น ตามสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งการส่งออกผลิตภัณฑ์สิ่งทอเพิ่มมากขึ้น ไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ ประเทศไทยต้องนำเข้าปุยฝ้ายจากต่างประเทศเป็นมูลค่ามหาศาล อีกทั้งการปลูกในประเทศต้องใช้ต้นทุนการผลิตสูง เนื่องจากค่าสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ซึ่งทำให้ไม่ปลอดภัยต่อผู้ผลิต และเป็นปัญหาต่อสภาพแวดล้อม ในขณะที่ยังมีความจำเป็นในการใช้เส้นใยจากพืชนี้อยู่


เส้นใยฝ้ายหรือปุยฝ้ายได้จากผลฝ้าย ที่เรียกว่า สมอ เส้นใยคือเซลล์ผิว (epidermal cell) ของเปลือกเมล็ด ซึ่งมีรูปร่างยาวเหมือนเส้นผม การแยกเส้นใยออกจากเมล็ดฝ้าย เรียกว่า การหีบฝ้าย เส้นใยฝ้ายสามารถนำไปทำผลิตภัณฑ์ได้นานาชนิด ตั้งแต่สำลี เส้นด้าย ทอเป็นผ้าฝ้าย ผสมในกระดาษ และกระดาษพิมพ์ ส่วนขนปุยสั้นๆที่ติดอยู่ที่เมล็ด ใช้ทำพรม โดยใช้พื้นรองพรมเป็นเส้นใยปอแก้ว
การเก็บฝ้ายในบ้านเรามักเก็บด้วยมือ โดยเลือกผลฝ้ายที่แตกแล้ว ดึงเส้นใยออกจากสมอ ส่งไปโรงงานหีบฝ้ายเพื่อแยกเมล็ดออก หลังจากนั้นจะนำเส้นใยไปทำสำลี ปั่นเป็นเส้นด้าย หรืออัดเป็นแท่ง ส่วนเมล็ดฝ้ายที่แยกเอาเส้นใยออกไปแล้ว นำไปสกัดน้ำมัน เรียกว่าน้ำมันเมล็ดฝ้าย ฝ้าย 10 กิโลกรัมให้เส้นใยประมาณ 3.5 กิโลกรัม และให้น้ำมันประมาณ 1 กิโลกรัม

ที่ผ่านมาเกษตรกรส่วนใหญ่จะปลูกฝ้ายเพื่อขายเชิงพาณิชย์เป็นหลักและไม่ใช้พันธุ์พื้นบ้านที่ปลูกกันในท้องถิ่น จะเป็นพันธุ์ที่ให้ปริมาณดอกฝ้ายมากให้ผลผลิตสูง แต่ก็ไม่ทนทานต่อสภาพพื้นที่ จึงต้องใช้สารเคมีช่วยในการกำจัดศัตรูพืช เพื่อให้ปริมาณฝ้ายได้มากและคุ้มค่ากับการลงทุน เกษตรกรส่วนใหญ่จึงนิยมปลูกฝ้ายแบบใช้สารเคมีช่วย เมื่อเป็นเช่นนี้ผลกระทบที่เกิดขึ้นก็ตามมาเช่นกัน


(เรียบเรียงโดย Kanji



Credit:

>>>> เส้นใยฝ้าย <<<<