Latest Articles


เส้นใยในโลกของเรามีหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นเส้นใยสังเคราะห์ เส้นใยกึ่งสังเคราะห์ หรือเส้นใยธรรมชาติ ซึ่งเส้นใยเหล่านี้เมื่อเราจะนำมาปั่นเป็นเส้นด้าย เพื่อนำเข้าสู่กระบวนทางสิ่งทอต่อไป ย่อมต้องมีข้อจำกัด หรือเงื่อนไขบางประการที่จะสามารถบ่งบอกในเบื้องต้นได้ว่า เส้นใยเหล่านั้นสามารถนำมาปั่นเป็นเส้นด้ายได้หรือไม่
1. เส้นใยจะต้องมีความยาวของเส้นใยอย่างน้อย 5 mm. (Length)
2. มีการบิดรูปได้ (Flexibility)
3. มีความสามารถในการจะรวมตัวกันได้ (Cohesiveness)
4. มีความแข็งแรง (Strength)
นอกจากนี้แล้วก็ยังมีคุณสมบัติอื่นๆ ที่ควรคำนึงถึง เช่น ความยืดหยุ่น (Elasticity) ความละเอียดของเส้นใย (Fineness) ความสามารถในการรวมเป็นหนึ่งเดียวกัน (Uniformity) ความคงทน (Durability) และสุดท้ายการสะท้อนแสง (Luster)
Continue reading


ในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ได้เกิดการคิดค้นเส้นใยสังเคราะห์ขึ้นมา เพื่อเพิ่มเติมประสิทธภาพจากเส้นใยธรรมชาติ โดยเส้นใยสังเคราะห์ชนิดแรกที่เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในช่วงก่อนศตวรรษที่ 20 คือ ไนลอน
ไนลอนได้ถูกคิดค้นและพัฒนาขึ้นโดยการนำของ Wallace Hume Carothers นักเคมีจากมหาวิทยาลัย



ฮาเวิร์ด (Harvard University) ซึ่งต่อมาได้มาทำงานเป็นหัวหน้าห้องปฏิบัติการเคมีให้แก่บริษัท Du Pont
Carothers ใช้เวลาถึง 11 ปี และใช้เงินไปถึง 27 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จึงสามารถผลิตไนลอนได้สำเร็จ
โดยไนลอนถูกนำมาผลิตเป็นถุงน่อง และเมื่อนำมาจำหน่ายในตลาด สามารถขายสินค้าได้หมดภายในเวลาอันรวดเร็วอีกด้วย

หลังจากนั้นด้วยงานวิจัยของ Carothers ทำให้ Whinfield และ Dickson พร้อมด้วยนักประดิษฐ์ Birtwhistle และ Ritchie ได้คิดค้นเส้นใยสังเคราะห์จาก Polyester ชนิดแรกที่เรียกว่า Terylene ในปี 1941

ผ้าไนลอนเป็นผ้าที่ใช้ได้ทนทาน มีการยืดหยุ่นรักษารูปร่างได้ดี เคลื่อนไหวร่างกายได้สะดวก จึงเหมาะสำหรับตัดชุดกีฬา สำหรับผ้าไนลอนที่ทอเนื้อเรียบแน่น เหมาะที่จะให้ทำผ้าร่มกันน้ำได้และถ้าตกแต่งเพื่อปัองกันน้ำซึมผ่านจะใช้ประโยชน์ได้ดี การดูแลรักษาเส้นใยไนลอนทำได้ง่าย 

นอกจากนี้เรายังอาจนำเส้นใยสังเคราะห์มาผสมกับเส้นใยธรรมชาติ ผลิตเป็นผ้าชนิดที่ซักน้ำได้โดยไม่ยับ ไม่ต้องรีด แต่ให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติอีกด้วย 


Credit: 
http://www.foodnetworksolution.com/wiki/word/2272/nylon-polyamide
https://www.ruedee.com/th/fabric/nylon/
http://www.oknation.net/blog/kotchawan/2008/02/06/entry-3





Continue reading



เกร็ดความรู้

มนุษย์ที่อาศัยอยู่ในแถบฝั่งทะเลตะวันออกและตะวันตกของภาคใต้มีวัฒนธรรมการนุ่งห่มด้วยผ้าทำจากเปลือกไม้    
 โดยพบหินทุบเปลือกไม้ ( barkcloth  beaters  )  ซึ่งมีลักษณะเป็นแท่งหินทรงกระบอก หรือ ทรงรี ด้านหนึ่งสกัดเป็นร่องเส้นไขว้เป็นตาตาราง  ในแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ที่ ถ้ำเบื้องแบบ ต.บ้านทำเนียบ อ.คีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี   และแหล่งโบราณคดีอื่น ๆในจังหวัดชุมพร นครศรีธรรมราช  และพังงา อีกด้วย   
จากนั้นในราวพุทธศตวรรษที่ 5– 6  ชุมชนโบราณในภาคใต้ได้มีการรับวัฒนธรรมจากอินเดีย จีน และเมดิเตอเรเนียน   ทำให้มีการพัฒนาการทำผ้าจากเปลือกไม้มาเป็นการทอผ้าด้วยเส้นใยจากพืช   
โดยเฉพาะ ฝ้าย ซึ่งมีแหล่งกำเนิดในอินเดีย นั้น น่าจะมีการนำเข้ามาปลูกและเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตเส้นใยและทอผ้าจากเส้นใยฝ้ายแล้ว    เพราะพบอุปกรณ์ปั่นด้ายที่เรียกว่า  แว ทำจากดินเผาและหิน มีรูปทรงต่าง ๆ กันตั้งแต่มีฐานรูปกรวยรูปครึ่งวงกลมมีแกนยาวเป็นเดือยทรงกระบอกยื่นออกมาและมีรูตรงกลาง   ในแหล่งโบราณคดีในภาคใต้ที่มีอายุอยู่ในช่วงเวลานี้หลาย แห่ง  อาทิ  แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว  จ.ชุมพร  และแหล่งโบราณคดีควนลูกปัด  ในเขตอ.คลองท่อม  จ.กระบี่   
ในราวพุทธศตวรรษที่ 12  เป็นต้นมา ได้พบหลักฐานประติมากรรมรูปเคารพที่แสดงอิทธิพลอินเดียจำนวนมากในคาบสมุทรภาคใต้  ที่แต่งกายตามแบบอินเดีย   รวมทั้งพบศิลาจารึกภาษาปัลลวะ  ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้กันในอินเดียภาคใต้  ในหลายพื้นที่  อันอาจแสดงว่า ชาวอินเดียได้เข้ามาตั้งถิ่นฐาน และ ถ่ายทอดความรู้ด้านต่าง ๆ แก่คนพื้นเมือง  ซึ่งอาจรวมถึง การทอผ้ารูปแบบต่าง ๆ  ด้วย

Credit: http://board.postjung.com/881033.html

Continue reading


คำว่า “Textile” หมายถึง การทำให้เส้นใยมารวมกันเป็นผืน ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลากหลายวิธี
ซึ่งสำหรับคำว่า Textile ในภาษาไทยเรียกว่า “สิ่งทอ” ซึ่งอาจจะไม่ตรงความหมายทีเดียวนักเพราะ การนำเส้นใยมารวมกันเป็นผืน มีวิธีการที่นอกเหนือจากการทอ (Weaving) ซึ่งได้แก่ การถัก (Knitting) หรือผ้าไม่ทอ (Non-woven) 
สำหรับเส้นใยที่ใช้ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ
1. เส้นใยสั้น ( Staple fibers )
2. เส้นใยยาว ( Filament fibers )


Continue reading

รู้จักกับเส้นใยสิ่งทอ


ใน ตอนที่แล้ว รู้จักกับเส้นใย ( ตอนที่ 2 ) เราได้พูดถึง คุณสมบัติของเส้นใยที่มีต่อผ้าที่ผลิตออกมา ในตอนนี้เราจะมากล่าวถึง คุณสมบัติของเส้นใยที่ควรรู้กันบ้าง

คุณสมบัติของเส้นใย ( Fibre Property ) กระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมสิ่งทอ สิ่งที่สำคัญเป็นอันดับแรก และต้องคำนึงถึงเป็นอย่างมากก็คือ คุณสมบัติของเส้นใยที่จะนำมาใช้เป็นวัตถุดิบได้อย่างเหมาะสม จึงต้องมีองค์ประกอบดังนี้

• ขนาดความโตของเส้นใย ( DE )
• ความยาวของเส้นใย ( MM. )
• ความแข็งแรงของเส้นใย ( Gm/DE )
• การยืดตัวของเส้นใย ( % )
• ความชื้นในเส้นใย ( % )
• ภาพตัดตามขวางของเส้นใย ภาพตัดตามยาวของเส้นใย

คุณสมบัติของเส้นใยที่กล่าวมานี้ จะมีผลโดยตรงในกระบวนการผลิตตั้งแต่ การเตรียมเส้นใย, การปั่น, การทอ, การย้อม และการตกแต่งสำเร็จ ดังนั้นจะกล่าวว่าการเตรียมเส้นใยเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญมากในการผลิตก็ไม่ ผิต เพราะว่า ถ้าเราเตรียมเส้นใยได้ดี การทำงานในขั้นตอนต่อไปก็สำเร็จโดยง่ายและ ไม่เกิดเป็นของเสีย ( Waste ) ระหว่างกระบวนการผลิต
Continue reading